top of page
BLOG

นิยามที่น่ารู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์



เกษตรอินทรีย์ (organic agriculture)

หมายถึง ระบบจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบองค์รวมที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ และไม่ใช้ พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม (genetic modification) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน


องค์รวม (holistic)

หมายถึง การให้ความสำคัญของสรรพสิ่ง และกิจกรรมโดยรวมของระบบนิเวศ


สารสังเคราะห์ (synthetic chemicals)

หมายถึง สารที่ผลิตโดยกระบวนการทางเคมีซึ่งแตกต่างไปจากระบบทางชีวภาพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ


การดัดแปรพันธุกรรม (genetic modification)

หมายถึง การปรับเปลี่ยนพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตให้มีคุณลักษณะใหม่ตามที่ต้องการ โดยใช้เทคโนโลยีทางชีวภาพสมัยใหม่


เทคโนโลยีชีวภำพสมัยใหม่ (modern biotechnology)

หมายถึง การใช้เทคนิคต่างๆ ได้แก่เทคนิคการถ่ายทอดกรดนิวคลิอิกนอกร่างกายสิ่งมีชีวิต (in vitro nucleic acid technique) และการนำดีเอ็นเอ (deoxyribonucleic acid; DNA) เข้าสู่เซลล์หรือออร์แกเนลล์ (organelles) โดยตรงหรือการรวมตัวของเซลล์ (fusion of cell) ที่ต่างวงศ์กัน ตามหลักอนุกรมวิธาน (taxonomic family) ซึ่งการใช้เทคโนโลยีดังกล่ำวเพื่อให้พ้นข้อจำกัดของการสืบพันธุ์ตามธรรมชำติ และไม่ใช่เทคนิคการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ตามปกติ (traditional breeding and selection)


อินทรีย์ (organic)

เป็นคำที่ใช้ระบุฉลากสำหรับผลิตผลจากพืช ปศุสัตว์ หรือสัตว์นำ้ ที่ได้จากการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เป็นอาหา รหรืออาหารสัตว์ที่ได้จากการแปรรูปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งได้รับการรับรองจากหน่วยรับรองที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คำนี้หมายความรวมถึงคำที่ใช้ระบุฉลากว่า “เกษตรอินทรีย์” หรือ “ออร์แกนิค”หรือ”organic” ด้วย


ช่วงปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์ (transition to organic หรือ conversion to organic)

เป็นคำที่ระบุฉลากสำหรับผลิตผล หรือผลิตภัณฑ์ จากพืช ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ ที่ได้จากการผลิต และ/หรือ แปรรูปตำมระบบการผลิตแบบอินทรีย์ที่อยู่ในระยะการปรับเปลี่ยนที่จำหน่ายเพื่อใช้เป็นอาหารหรืออาหารสัตว์ ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยรับรองที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


ระยะการปรับเปลี่ยน (transition period หรือ conversion period)

หมายถึง ช่วงเวลานับจากเริ่มต้นผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ตามข้อกำหนดในมาตรฐาน จนกระทั่งได้รับการรับรองผลิตผลและผลิตภัณฑ์ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์


แนวกันชน (buffer zone)

หมายถึงแนวเขตที่ใช้กั้นบริเวณการผลิต ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีขึ้นเพื่อป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีจากบริเวณข้างเคียง


การปลูกพืชหมุนเวียน (crop rotation)

หมายถึง การปลูกพืชต่างชนิดสลับกันบนพื้นที่หนึ่งๆเพื่อลดปริมาณการระบาดของศัตรูพืช หรือ ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์และเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน


การแสดงฉลาก (labelling)

หมายถึง ข้อความที่เขียน พิมพ์ หรือ รูป รูปภาพ รอยประดิษฐ์ ที่ปรากฎบนฉลาก กำกับมากับผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ หรือแสดงไว้ใกล้ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการขาย


ผลิตผล (produce)

หมายถึง ผลิตผลที่ได้จากการเพาะปลูก การปศุสัตว์ หรือการเพาะเลี้ยงสัตว์นำ้ที่ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ หรือการเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติ และ/หรือ ผ่านการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว


ผลิตภัณฑ์(product)

หมายถึง ผลิตผลจากระบบเกษตรอินทรีย์ ที่ผ่านกระบวนการแปรรูป เพื่อใช้เป็นอาหารหรืออาหารสัตว์


ผู้ผลิต (producer/farmer)

หมายถึง ผู้ทำการเพาะปลูก เพาะเลี้ยงสัตว์นำ้ หรือเลี้ยงปศุสัตว์ดูแล รักษา เก็บเกี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และการขายผลิตผล


ผู้ประกอบการ (operator)

หมายถึง ผู้ที่ดำเนินกิจการในการผลิต จัดเตรียม หรือ นำเข้า หรือส่งออกผลิตผล และ/หรือ ผลิตภัณฑ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนนำไปจำหน่ำย หรือเป็นผู้จัดจำหน่าย


การผลิต (production)

หมายถึง การดำเนินการผลิตในขั้นที่อยู่ในฟาร์ม รวมถึงการบรรจุหีบห่อในขั้นต้น และการแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์


วัสดุปุ๋ย (fertilizer materials)

หมายถึง สารที่มีส่วนประกอบของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสโพแทสเซียม หรือสารอื่นๆ ที่เป็นธาตุอาหารของพืชหรือสัตว์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน


ปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizers)

หมายถึง ปุ๋ยที่ได้หรือทำมาจากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ หมัก บด ร่อน สกัดหรือด้วยวิธีการอื่น และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ ด้วยจุลินทรีย์ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยชีวภาพ


ปุ๋ยชีวภาพ

หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้ำงธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์แก่พืชนำใช้ในการปรับปรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ และทางชีวเคมี และให้ความหมายรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์


สารปรับปรุงพืช (plant amendments)

หมายถึง สารที่ใช้ปรับปรุงกำรเจริญเติบโต การให้ผลผลิต การควบคุมคุณภาพ และลักษณะอื่นๆของพืช


สารปรับปรุงบำรุงดิน (soil amendments)

หมายถึง วัสดุที่ช่วยปรับปรุงสภาพทางเคมี ชีวภาพและกายภาพของดิน ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตที่มีคุณภำพ


วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

หมายถึง วัตถุที่ปกติมิได้ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นส่วนประกอบอาหาร ไม่ว่าจะมีคุณค่าทางโภชนาการหรือไม่ก็ตาม แต่ใช้เจือปนอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีในการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพ หรือมาตรฐานหรือลักษณะของอาหาร และหมายความรวมถึง วัตถุที่มิได้เจือปนอาหารแต่ใช้รวมอยู่กับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย คำนี้จะไม่รวมถึงสารปนเปื้อน หรือสารที่เติมในอาหาร เพื่อรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพทางโภชนาการ


ส่วนประกอบ (ingredient)

หมายถึง วัตถุดิบ และสารใดๆ ก็ตาม รวมถึงวัตถุเจือปนอาหารหรือวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ ที่ใช้ในการจัดเตรียมผลิตภัณฑ์ และยังปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์สุดท้ำย ซึ่งเป็นไปได้ที่จะพบในลักษณะทีเปลี่ยนรูปไปแล้ว


สารช่วยกรรมวิธีการผลิต (processing aids)

หมายถึง สาร หรือวัสดุ ที่ไม่รวม อุปกรณ์ หรือภาชนะ และไม่ได้เป็นส่วนประกอบของอาหารหรืออาหารสัตว์ แต่ใช้ในกระบวนการผลิตวัตถุดิบ อาหาร อาหารสัตว์ หรือส่วนประกอบอาหาร อาหารสัตว์ และอาจมีผลให้สารตกค้ำงของสารนี้หรือ อนุพันธ์ที่ได้จากสารนี้อยู่ในผลิตภัณฑ์สุดท้าย โดยไม่ได้ตั้งใจและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้


การรับรอง (certification)

หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงาน โดยหน่วยรับรอง ในการออกใบรับรองว่าผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์หรือระบบการควบคุมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ เป็นไปตำมข้อกำหนด

ของมาตรฐานนี้


หน่วยรับรอง (certification body)

หมายถึง หน่วยที่รับผิดชอบในกำรตรวจ (inspection) และการรับรอง (certification) ว่าผลิตผล และ/หรือ ผลิตภัณฑ์ เป็นไปตามมาตรฐานนี้


การตรวจ (inspection)

หมายถึง การตรวจสอบ (examine) ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ หรือระบบสำหรับควบคุมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป และการจัดจำหน่าย รวมทั้งการทดสอบในกระบวนการแปรรูปและผลิตภัณฑ์สุดท้ำย เพื่อทวนสอบว่าเป็นไปตำมข้อกำหนด


ที่มา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


ดู 5 ครั้ง
bottom of page