top of page
BLOG

ทำอย่างไรจึงจะเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์โดย ดร.รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล


เรื่องแรกคือการผลิตโดยรวม

1.เกษตรต้องแจ้งพื้นที่การเกษตรที่ถือครองทั้งหมด เกษตรต้องแจ้งพื้นที่การเกษตรที่ตนเองครอบครอง และพื้นที่เช่าทำการเกษตรจะมีหรือไม่มีโฉนดที่ดินก็ตาม ก็ต้องแจ้งให้ทางโครงการทราบซึ่งเกษตรอินทรีย์ไม่สนใจเอกสารในการถือครอง แต่สนใจว่าทำการเกษตรอินทรีย์ที่แปลงไหน

2.แปลงนาและแปลงผลไม้ทุกแปลงจะต้องทำในระบบเกษตรอินทรีย์ทั้งหมดยกเว้นให้ทำเป็นบางแปลงได้ในช่วงแรก แต่ต่อไปต้องปรับเป็นเกษตรอินทรีย์ทุกแปลง ซึ่งจะต้องแจ้งทั้งหมดทุกแปลง เช่นมีทั้งหมด 5 แปลง เป็นแปลงกษตรอินทรีย์ 2 แปลง และทั่วไป 3 แปลงเป็นต้น โดยจะต้องทยอยนำเข้าในระบบการประเมินครั้งต่อไปจนครบ แต่ถ้าไม่นำเข้าในระบบเกษตรอินทรีย์ทั้งหมดก็จะถือว่าขัดต่อกฏของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของทุกที่

3.พื้นที่ปลูกในแปลงเคมีที่ยังไม่ขอรับรอง อนุญาตให้ปลูกพืชได้แต่เกษตรต้องแยกผลผลิตออกไปให้สามารถตรวจสอบได้และมีป้ายบ่งชี้ให้ชัดเจน ถ้าไม่มีการแยกให้ชัดเจน วางกองไว้รวมกัน ก็ให้ถือว่าทั้งหมดนั้นเป็นผลผลิตจากแปลงทั่วไป เพื่อให้มั่นใจได้ว่า หากเป็นผลผลิตจากแปลงกษตรอินทรีย์จะไม่มีการปนเปื้อนใด ๆ

4. ขอบเขต คันแดน หรือ แนวกั้น แปลงเกษตรอินทรีย์ต้องแยกอย่างชัดเจน คือแนวกันชนต้องกว้างอย่างน้อย 1 เมตรสูงอย่างน้อย 1 เมตร ต้องมีการปลูกพืชกันชนที่แปลงนาเพื่อป้องกันการปนเปื้อน เช่นการปลูกไผ่ ซึ่งจะป้องกันการซึมของนำ้ได้ เพราะรากไผ่แน่นหนามาก โดยพืชที่ปลูกชั้นในถือว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ 5.ห้ามปลูกข้าวในแปลงอินทรีย์ที่ขอรับรองมากกว่า 2 ครั้งต่อปี คือทำได้ นาปรัง และนาปี สำหรับรอบที่ 3 ควรพักดิน หรือปลูกพืชที่เป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อบำรุงดิน ปรับปรุงดิน เช่นถั่วพร้า ปอเทือง หรือปลูกพืชตระกูลถั่ว สำหรับหญ้า ไม่นับเป็นพืชหมุนเวียน 6.เกษตรกรควรบริโภคเองเพื่อความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพ เกษตรควรเก็บไว้ 10-20% เพื่อบริโภคในครัวเรือนและแบ่งปันให้ผู้อื่น

โปรดติดตามตอนต่อไป หรือเรียนรู้เพิ่มเติมครบถ้วนแบบเจาะลึก จากวีดีโอได้ที่ >>>

ดู 13 ครั้ง
bottom of page